วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

Butterfly



ผีเสื้อ เป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก[1]
ต้นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
วิวัฒนาการของผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าผีเสื้ออาจมีต้นกำเนิดแต่ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ซึ่งยุติเมื่อกว่าหกสิบห้าล้านปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในตระกูลผีเสื้อมีน้อยมาก จึงทำให้การคะเนเกี่ยวกับต้นกำเนิดผีเสื้อเป็นไปได้ไม่สะดวกนัก โดยซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ดังกล่าวที่มีอายุมากที่สุดคือซากนิรนามของสัตว์สคิปเพอร์ (Skipper, Thymelicus lineola) อายุราวสมัยพาเลโอซีน (Paleocence Epoch, ประมาณห้าสิบเจ็ดล้านปีก่อน) พบที่เมืองเฟอร์ (Fur) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และซากดึกดำบรรพ์ประเภทอำพันแห่งโดมินิกัน (Dominican amber) ของผีเสื้อเมทัลมาร์ก (Metalmark, Voltinia dramba) อายุยี่สิบห้าล้านปี
ปัจจุบันโดยปรกติวิสัยผีเสื้อกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิประเทศหนาวเย็นและแห้งแล้ง มีการประมาณว่าขณะนี้มีผีเสื้อในมหาวงศ์ (Superfamily) พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) กว่าหนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยชนิด (species) และมหาวงศ์เลพิดอปเทรา (Lepidoptera) กว่าหนึ่งแสนแปดหมื่นชนิด

การจำแนก
ปัจจุบันมีการจำแนกผีเสื้อออกเป็นสามมหาวงศ์ (Superfamily) คือ 1. เฮดิโลอิเดีย (Hedyloidea) 2. เฮสเพอริโออิเดีย (Hesperioidea) และ 3. พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) และนอกจากนี้ยังมีการจำแนกซึ่งเป็นที่นิยมอยู่อีกสองแบบ ดังต่อไปนี้การจำแนกแบบอนุกรมวิธานพืช
การศึกษาว่าด้วยโครงสร้างและโมเลกุลทางพฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ตามอนุกรมวิธาน (Taxonomic) ได้มีกำหนดมหาวงศ์เพิ่มเติมนอกจากข้างต้น เช่น ดาเนเด (Danaidae) เฮลิโคนีเด (Heliconiidae) ลิบีเทเด (Libytheidae) และ แซไทริเด (Satyridae) เป็นต้น

การจำแนกกลุ่มผีเสื้อกลางวันและกลุ่มผีเสื้อกลางคืน

การจำแนกผีเสื้อแบบแยกสองแฉก (dichotomous classification) เป็นกลุ่มผีเสื้อกลางวัน (buttefly) และกลุ่มผีเสื้อกลางคืน (moth) เป็นอีกวิธีในการจำแนกผีเสื้อที่นิยมมากนอกเหนือจากแบบอนุกรมวิธานพืช การจำแนกประเภทเป็นกลุ่มทั้งสองดังกล่าวนั้นกระทำได้โดยการสังเกตลักษณ์จำเพาะของผีเสื้อ

วงชีวิต
การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุวัฏจักร ดังนี้ คือ
  1. ระยะไข่ (Egg Stage)
  2. ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
  3. ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
  4. ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)
อนึ่ง มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าผีเสื้อมีวงจรชีวิตสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผีเสื้อบางพันธุ์อาจมีอายุเพียงหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่บางพันธุ์มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานในระยะบุ้ง ในขณะที่แมลงชนิดอื่นอาจหยุดการเจริญเติบโตได้ในระยะไข่หรือระยะดักแด้แล้วจึงดำเนินชีวิตต่อไปในฤดูหนาว

ระยะไข่

ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาไข่ของผีเสื้อ เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า ไมโครพายล์ (micropyle) เป็นรูที่ทำให้น้ำเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียได้

ระยะหนอน

ระยะที่คนเราเรียกว่า หนอน มีหลากหลายสี หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่แล้ว ตัวหนอนมีลักษณะที่แตกต่างกัน อาหารอย่างแรกที่ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้นตัวหนอนจึงเริ่มกินใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อนก่อน ซึ่งลักษณะการกินของตัวหนอนจะเริ่มจากขอบใบเข้าหากลางใบ และจะมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว บางชนิดสีสันและรูปร่างก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น หนอนผีเสื้อหางติ่ง หนอนมะนาว ในระยะแรกๆ สีสันก็เหมือนมูลนก แต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้นสีสันจะเปลี่ยนไป เป็นสีเขียวมีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอกด้วย เป็นต้น แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สามารถจำแนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก และขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอนทั่วไปมักหากินเดี่ยวๆ แต่ก็มีบางชนิดทีระยะแรกๆ หากินกันเป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน แมลงที่ลงทำลายพืชผลทางการเกษตรก็จะเป็นวัยนี้เกือบทั้งสิ้น

ระยะดักแด้

เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ภายในเปลือกดักแด้ การพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดบรรดาตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนของผีเสื้อแต่ละชนิดจะเลือกที่เข้าดักแด้ต่างกันไป ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน

ระยะเจริญวัย

ระยะเจริญวัยคือผีเสื้อที่มีสีสันสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งแต่ออกจากดักแด้ โดยผีเสื้อใช่ขาดันเปลือกดักแด้ให้ปริแตกออก และผีเสื้อที่มีปีกยับยู่ยี่จะออกมา ในลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสียที่เป็นสีชมพูออกมา ในระยะแรกปีกของผีเสื้อยังไม่สามารถแผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของเหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำให้ปีกแข็งพอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับชนิดและแต่ละช่วงอายุขัย

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เต่าทอง Coccinellidae



เต่าทอง





เต่าทอง
แมลงที่น่าสนใจชนิดหนึ่ง ซึ่งชื่อของมันฟังดูแล้วอาจจะไม่ทราบเลยว่าเป็นแมลง แมลงที่ว่านี้ก็คือเต่าทอง เป็นแมลงปีกแข็งที่มีขนาดเล็ก ในเมืองหนาวแมลงเล็ก ๆ เหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม กล่าวกันว่า เต่าทองจำศีล ในบ้านเรา มักไม่เห็นการรวมกลุ่มกันมากเช่นนี้
เมื่อเต่าทองตัวเมียวางไข่ ไข่มันจะมีรูปร่างรี ๆ สีเหลือง และจะเรียงกันคล้ายบันได เมื่อตัวอ่อนฟักออกจากไข่มันจะเริ่มล่าเพลี้ยเป็นอาหาร และเมื่ออาหารมากมันจะเริ่มเปลี่ยนเป็นดักแด จากนั้นก็จะโตเต็มวัย เต่าทองที่โตเต็มวัยแล้วก็จะล่าเพลี้ยชนิดต่างๆ เป็นอาหารต่อไป
ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องทีน่าสนใจสำหรับเกษตรในการกำจัดเพลี้ยโดยอาศัยเต่าทองแทนการใช้สารเคมี ซึ่งจะช่วยลดมลพิษในอากาศ ดิน และน้ำลงได้บ้าง
ส่วนประกอบต่างๆของเต่าทอง


แมงมุม

แมงมุม
แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาข้อ เช่นเดียวกับแมลง กิ้งกือ ปู เป็นต้น แมงมุมมีอาหารเป็นพวก เพลี้ยอ่อน ตัวหนอน ผีเสื้อ แมลงวัน เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป แมงมุมบางชนิดมีการชักใยเป็นข่ายดักจับสัตว์ที่เป็นเหยื่อ แมงมุมจะมีช่วงลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้า ที่ประกอบไปด้วยส่วนหัวและอกที่เชื่อมติดกัน และส่วนหลัง คือ ส่วนผลึก และแมงมุมมีปีก
                        แมงมุมจัดอยู่ใน Class Arachnida, Order Araneae หรือ Araneida ลักษณะที่สำคัญคือ มีลำตัวเป็นปล้อง ๆ(ซึ่งสัตว์ในกลุ่มนี้ ก็มักจะมีลำตัวเป็นปล้อง) ส่วนหัวและอกรวมกัน ส่วนท้องซึ่งเป็นถุงแยกออกจากส่วน หัวและอกมี pedicel คั่นอยู่ แมงมุมมีขา 4 คู่ ปากมีเขี้ยวพิษที่เรียกว่า chelecerae ซึ่งมีท่อต่อถึงส่วนที่เป็นส่วนหัวและอกซึ่งเป็นที่อยู่ของต่อมพิษ  ซึ่งพิษเหล่านี้ แมงมุมไม่ได้มีไว้เพื่อล้มสัตว์ใหญ่  แต่แค่เอาไว้ทำให้เหยื่อของมันเกิดอาการชา ขยับตัวไม่ได้   ซึ่งแน่นอนว่าเหยื่อของแมงมุมก็มักเป็นพวกแมลงเล็กๆ   หนอนอะไรพวกนี้แค่นั้น  แมงมุมใช้พิษเพื่อการสยบเหยื่อ   แม้ว่าแมงมุมหลายพันธุ์จะมีพิษ แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่มีพิษร้ายแรงจนล้มสัตว์ใหญ่ๆ อย่างคนได้นั้นมีน้อยมาก แต่ ชนิดที่เรียกว่า Latrodectus mactan หรือ แมงมุมแม่ม่ายดำ (Black widow spider) หรือชนิดที่มีพิษรุนแรง (Severe human poisoning) ได้แก่ Latrodectus, Loxosceles, Phonentria และ Atrax พันธุ์ที่มีพิษมากที่สุดพบในสหรัฐอเมริกา น้ำพิษของแมงมุมชนิดนี้มีพิษร้ายแรงทำให้คนเสียชีวิตได้  แมงมุมพิษกลุ่มนี้มี ขนาดของตัวเมียโตประมาณ 13 มิลลิเมตร ลำตัว ท้อง และขามีสีน้ำตาลดำ หน้าท้องจะมีรูปลักษณะคล้ายนาฬิกาทรายสีส้มแดง เห็นได้ชัด มักอาศัยอยู่ในที่มืด ในกองไม้ ตอไม้ รอยแตกของพื้น

ในบ้านเราเคยมีรายงานว่ามีผู้ป่วยถูกแมงมุมชนิดนี้กัดที่จังหวัดขอนแก่น เป็นหญิงอายุ 20ปี หลังจากถูกกัดมีอาการเจ็บบริเวณที่ถูกกัด เหงื่อออกมาก ปวดท้อง หายใจและพูดลำบาก อาการเป็นชั่วคราวแล้วก็หายเป็นปรกติในหนึ่งวัน แมงมุมมีสีน้ำตาลอยู่บนพื้นดินและวินิจฉัยว่าเป็น พันธุ์ Lactrodectus sp. แมงมุมที่พบในบ้านเราโดยทั่วไปชอบอาศัยอยู่ตามเพดานห้อง มุมห้อง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือตามผนังที่มีรอยแตก บางชนิดชักใย เพื่อดักแมลงตัวเล็ก ๆ เพื่อกินเหยื่อ   ดังนั้นจะเห็นว่าจากแมงมุมทั้งหมดทั่วโลกที่มีอยู่กว่า ๓๐,๐๐๐ ชนิด  แม้ทุกชนิดจะมีพิษเพื่อจับเหยื่อ แต่ก็มีไม่กี่ชนิดที่น่ากลัวสำหรับคน     ถ้ามองในแง่ดี แมงมุมเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์ที่ช่วยควบคุมแมลง รวมทั้งหนอนที่กัดกินต้นไม้ต่างๆด้วยซ้ำไป      

ชม flash จำลองการเดินของแมงมุมที่ http://www.onemotion.com/flash/spider/

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

แมงป่อง


จากการจำแนกทางชีววิทยา แมงป่องเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัม Arthropoda คลาส Scorpionida เป็นสัตว์พิษที่มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ยืนยันได้จากการค้นพบฟอสซิลของแมงป่องที่มีอายุถึง ๔๔๐ ล้านปี เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum เป็นต้น
     
ปัจจุบันทั่วโลกมีแมงป่องประมาณ ๑,๒๐๐ ชนิด (species) อยู่กระจัดกระจายเกือบทั่วไป ไม่ว่าเป็นเขตทะเลทราย (desert) เขตร้อนชื้น (tropic) หรือแม้แต่แถบชายฝั่งทะเล ยกเว้นเพียงเขตขั้วโลกเหนือ (Arctic) และขั้วโลกใต้ (Antarctica) เท่านั้นที่ไม่พบแมงป่อง และพบชนิดที่มีพิษร้ายแรง ๕๐ ชนิด บางชนิดมีพิษรุนแรงมาก เช่น แมงป่องในสกุล Centruroides ที่รัฐอริโซน่า สหรัฐอเมริกา พิษของมันสามารถทำให้เด็กและผู้สูงอายุที่ถูกต่อยเสียชีวิตได้ แมงป่องที่มีพิษรุนแรงสกุลอื่น พบในบราซิล เม็กซิโก และทะเลทรายซาฮาร่า
     
ส่วนในประเทศไทย ที่พบบ่อยมากที่สุด คือ แมงป่องในอันดับ Scorpiones (หรือ Scorpionida) วงศ์ Scorpionidae สกุล Heterometrus ได้แก่ H. longimanus และ H. laoticus พบ H. laoticus มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แมงป่องในสกุลนี้เป็นแมงป่องที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่งของโลก ทั้งสองชนิดมีสีดำสนิท ขนาด ๙-๑๒ เซนติเมตร น้ำหนักตัว ๑๐-๑๒ กรัม มีอายุราว ๓-๕ ปี และจำแนกจากกันได้ยาก จึงเรียกกันทั่วไปว่า Giant scorpion หรือ Asian forest scorpion หรือ Black scorpion หรือ "แมงป่องช้าง" ในภาษาไทย หรือ "แมงเงา" ในภาษาอีสาน นอกจากนี้ยังมีแมงป่องที่อยู่ในวงศ์ Buthidae สกุล Isometrus พบตามบ้านเรือน มักมีสีน้ำตาลอ่อน แล้วมีลายดำหรือน้ำตาลคาด จึงเรียกว่า Striped scorpion ขนาดไม่เกิน ๕ เซนติเมตร เรียกทั่วไปว่า"แมงป่อง" หรือ"แมงงอด" ในภาษาอีสาน
     
พฤติกรรมส่วนหนึ่งที่ทำให้แมงป่องดูลึกลับ ก็เพราะมันเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแสงสว่าง มักจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามสถานที่มืดและชื้น เช่น ใต้ก้อนหิน ใต้กองไม้ ใต้ใบไม้ หรือขุดโพรงหรือรูอยู่ตามป่าละเมาะ และออกหากินในเวลากลางคืน จนบางคนตั้งสมญามันว่า "เพชฌฆาตยามราตรี"

                 
                        ร่างกายแมงป่องช้าง                                               
                       แมงป่องช้างเป็นสัตว์มีเปลือกแข็งหุ้ม ลำตัวเรียว มีขาจำนวน ๔ คู่ อวัยวะที่โดดเด่น คือ "ก้ามใหญ่" (pedipalps) ๑ คู่ที่ดูทรงพลัง มันมีส่วนหัวและหน้าอกอยู่รวมกัน เรียกว่า"โปรโซมา" (prosoma) แมงป่องช้างมีตาบนหัวหนึ่งคู่ และตาข้างอีก ๓ คู่ ตรงปากมี"ก้ามเล็ก" (chelicera) คู่ ส่วนถัดมาเรียกว่า"มีโซโซมา" (mesosoma) ประกอบด้วยปล้อง ๗ ปล้อง ด้านหน้าท้องมีอวัยวะสำคัญคือ"ช่องสืบพันธุ์" (genital operculum) และมีอวัยวะที่เรียกว่า"เพคไทน์" (pectines) หรือ"เพคเท็น" (pectens) ๑ คู่ มีรูปร่างคล้ายหวี ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากการสั่นของพื้นดิน ส่วนสุดท้ายคือหางเรียวยาว เรียกว่า"เมตาโซมา" (metasoma) ประกอบด้วยปล้อง ๕ ปล้องกับปล้องสุดท้าย คือ"ปล้องพิษ" มีลักษณะพองกลมปลายเรียวแหลม คล้ายรูปหยดน้ำกลับหัว บรรจุต่อมพิษ มีเข็มที่ใช้ต่อย เรียกว่า"เหล็กไน" (sting apparatus) เสมือนเป็นเข็มเพชฌฆาต ฉีดพิษเพื่อคร่าชีวิตเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย
     
แม้ว่าแมงป่องมีตาหลายคู่ แต่มีประสิทธิภาพการมองเห็นต่ำมาก และไม่ไวพอจะรับแสงกระพริบได้ เช่น แสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป และต้องใช้เวลานานในการปรับตาให้ตอบสนองต่อแสง สังเกตได้เมื่อมันถูกนำออกจากที่มืด ต้องใช้เวลานับนาทีจึงจะเริ่มเคลื่อนไหว
     
ข้อด้อยเรื่องสายตาได้ถูกทดแทนด้วยสิ่งอื่น หากสังเกตให้ดีจะพบว่าทั่วตัวแมงป่องปกคลุมด้วยเส้นขนนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะบริเวณปล้องเพชฌฆาต ขนเหล่านี้รับความรู้สึกจากการเคลื่อนไหวของอากาศ ทำให้แมงป่องไวต่อเสียงมาก ดังนั้นจึงไม่แปลกที่แมงป่องจะชูหางขึ้นทันทีที่มีเสียง หรือมีการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ รอบตัว เมื่อมีเหยื่อหรือศัตรูเข้ามาใกล้ และสามารถมอบความตายให้กับเหยื่อได้อย่างแม่นยำ

                 
                        เสน่ห์ที่แฝงอยู่                                                    
                          คนทั่วไปมักพบเห็นแมงป่องช้างภายใต้เปลือกสีดำทะมึน น้อยคนที่จะรู้ว่าในความน่ากลัวนั้นมีความงามซุกซ่อนอยู่ หากนำแมงป่องช้างไปไว้ภายใต้แสงอุลตราไวโอเล็ต เปลือกสีดำจะกลายเป็นสีเขียวเรื่อเรืองเปล่งประกาย ยิ่งหากมองดูพร้อมกันหลายตัว ก็ยิ่งเห็นเป็นสีเขียวเลื่อมพรายสวยงามมาก
     
ลักษณะพิเศษของแมงป่อง (ไม่เฉพาะแมงป่องช้าง) ที่ต่างไปจากสัตว์มีเปลือกแข็งชนิดอื่นๆ เกิดจากสารชนิดหนึ่งซึ่งยังไม่ทราบแน่นอน ฝังตัวอยู่เป็นชั้นบางๆ ในเปลือกของแมงป่อง สารชนิดนี้ทำให้เปลือกแมงป่องเรืองแสงสีเขียวภายใต้แสงอุลตราไวโอเล็ต ถึงแม้แมงป่องตายไปแล้วเป็นเวลานาน คุณสมบัติเรืองแสงนี้ก็ยังคงอยู่ จากฟอสซิลแมงป่องอายุหลายร้อยปีพบว่า แม้ว่าเปลือกจะไม่คงรูปร่างแล้ว แต่สารเรืองแสงยังคงฝังตัวติดกับหินฟอสซิล นอกจากนี้ ตัวอย่างดอง หรือแม้กระทั่งแมงป่องทอดที่มีขายทั่วไปในภาคอีสาน ยังคงมีการเรืองแสงอยู่แทบไม่แตกต่างจากแมงป่องที่มีชีวิตแม้แต่น้อย
     
กระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่า แมงป่องมีคุณสมบัติการเรืองแสงแปลกประหลาดนี้ไปเพื่อประโยชน์อันใด

                 
                        เพชฌฆาตยามราตรี                                               
                   หลังตะวันตกดิน เมื่อความมืดมาเยือน เหล่าแมงป่องช้างจะออกจากที่ซ่อนตามโพรงดิน ซอกหลืบก้อนหิน ใต้ขอนไม้ หรือใต้กองใบไม้ลึกเร้น เพื่อรอคอยเหยื่อซึ่งมักเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กชนิดต่างๆ เช่น ตั๊กแตน, จิ้งหรีด, หนอน, ลูกจิ้งจก เป็นต้น
     
ทุกย่างก้าวของเหยื่อเคราะห์ร้ายผู้มาถึงลานประหาร ไม่อาจรอดพ้นจากการรับรู้ของขนเล็กๆ ทั่วตัวแมงป่องไปได้เลย เมื่อเหยื่อเข้ามาในระยะใกล้พอ ก้ามใหญ่สีดำทรงพลังก็หนีบฉับที่ตัวเหยื่ออย่างรวดเร็ว หากเหยื่อยังขัดขืน เหล็กไนปลายหางเพชฌฆาตก็จะทิ่มแทงเข้าที่ตัวเหยื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนแน่นิ่ง
     
แมงป่องต่อยและปล่อยน้ำพิษออกมาเพื่อทำให้เหยื่อตายหรือเป็นอัมพาต แล้วจึงเริ่มฉากการกินอาหาร ซึ่งดูสุภาพ เชื่องช้า แต่น่ากลัว เหยื่อที่ติดในก้ามใหญ่ถูกฉีกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยด้วยก้ามเล็ก แล้วถูกส่งเข้าปาก อาหารจะถูกอมไว้เป็นเวลานานก่อนจะถูกกลืนหายเข้าไป ระยะเวลาที่แมงป่อง"ละเลียด"อาหารแต่ละมื้อนานมาก อาจถึง ๑ ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
     
หลังอิ่มเอมจากแต่ละมื้อ แมงป่องจะไม่สนใจอาหารใด ๆ แม้จะมีเหยื่ออันโอชะมาวางอยู่ตรงหน้า และมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่กินเป็นเวลานาน อาจถึง ๑ หรือ ๒ สัปดาห์ เพราะแมงป่องเป็นสัตว์เลือดเย็นและมีอัตราเมแทบอลิซึมต่ำ นอกจากนี้ยังต้องการน้ำน้อยมาก บางครั้งเพียงน้ำจากอาหารที่กินเข้าไปก็พอต่อการดำรงชีวิต

ที่มา http://www.sarakadee.com/feature/2004/01/scorpions.htm

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ด้วง

ด้วง
ด้วง (อังกฤษ: Beetle) จัดเป็นแมลงปีกแข็งในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยแมลงปีกแข็ง (ด้วง) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ในอันดับ Coleoptera แมลงในกลุ่มนี้บางชนิดมีพิษ การรับประทานเพียง 1 ตัว สามารถทำให้คนที่รับประทานเข้าไปตายได้ เช่น ด้วงน้ำมัน บางชนิดมีพิษต่อผู้สัมผัส ได้แก่ ด้วงก้นกระดก การรับประทานหรือสัมผัสด้วงต้องมีความรู้อย่างเพียงพอ มิฉะะะนั้นอาจให้โทษแก่ผู้นั้นได้เพราะด้วงบางชนิดอาจมีพิษทำให้ปวดแสบปวดร้อนได้ เช่น ด้วงนำมัน ด้วงดินบางชนิด เป็นต้น ความสำคัญของด้วงในระบบนิเวศวิทยาเป็นผู้ย่อยสลายได้ดีแก่ซากพืช เช่น ด้วงขี้ควายหรือแมงกุ๊ดจี่ ในทางการเกษตรเป็นแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ด้วงหนวดยาว ทางด้านอาชญากรรมนักนิติเวชกีฏวิทยาสามารถนำด้วงมาหาปัจจัยของสาเหตุการตายในงานของนิติเวชกีฏวิทยา (Forensic Entomology) ของมนุษย์ได้ โดยด้วงจะเข้ามายังศพช่วงระยะที่ศพเริ่มจะแห้ง จนถึงระยะศพแห้ง

ด้วงในประเทศไทย

มีการสำรวจด้วงวงศ์ย่อยชีลาฟินาอี้ (Pselaphinae) ในวงศ์สปาไฟลินิเดอี้ (Staphylinidae) ในเมืองไทยพบเพียง 40 ชนิดจนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ดร.ชูเฮอิ โนมูระ (Shuhei Nomura) ผู้เชี่ยวชาญด้านด้วงจากพิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติวิทยา ประเทศญี่ปุ่น พบด้วงชนิดใหม่ที่เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี 3 ชนิด [1] คือ
  • Articerodes thailandicus หรือ อาร์ทิเซอรอดส์ ไทยแลนดิคัส
  • Articerodes Ohmumoi หรือ อาร์ทิเซอรอดส์ โอมูโมอิ
  • Articerodes Jariyae หรือ อาร์ทิเซอรอดส์ จาริเย

สถิติ

ยาวที่สุดในโลก ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส (Dynastes hercules) วงศ์ Scarabaeidae-Dynastinae ตัวผู้ยาวที่สุดที่บันทึกไว้ (จากปลายเขาถึงปลายท้อง) คือ /270 มิลลิเมตร ส่วนตัวเมียไม่มีเขามีขนาด 60-100 มิลลิเมตร แหล่งที่พบคือโคลัมเบีย เอกวาดอร์ บราซิล คอสตราริกาและปานามา เป็นต้น
ยาวอันดับสอง ด้วงกว่างเนปจูน (Dynastes neptunus) วงศ์ Scarabaeidae-Dynastinae ตัวผู้ยาวที่สุดที่บันทึกไว้ (จากปลายเขาถึงปลายท้อง) คือ 180 มิลลิเมตร ตัวเมียประมาณ 60-85 มิลลิเมตร แหล่งที่พบคือโคลัมเบียและโบลิเวีย

สถิติในไทย

ด้วงกว่างสามเขาจันท์, ด้วงกว่างสามเขาคอเคซัส (Chalcosoma caucasus) เป็นกว่างสามเขาที่ใหญ่-ยาวที่สุดในโลก ตัวยาวที่สุดพบที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนิเซีย ยาว 130 มิลลิเมตร ด้วงชนิดนี้พบมากในทางตะวันตกของมาเลเซีย ตัวผู้ที่ยาวที่สุดในไทยยาว 120 มิลลิเมตร พบที่จันทบุรี (ในโลกนีมีด้วงกว่างสามเขาอยู่สามชนิดคือ Chalcosoma caucasus,Chalcosoma atlas และ Chalcosoma mollenkampi)

ด้วงที่น่าสนใจและเพาะเลี้ยงได้ง่าย

จะกล่าวอยู่สองกลุ่มคือ ด้วงกว่าง (วงศ์ Dynastinae,Scarabaeidae) เช่น ด้วงกว่างชน (Xylotrupes gideon) ด้วงกว่างสามเขา (วงศ์ย่อย Chalaosoma) กว่างห้าเขา (วงศ์ย่อย Eupatorus) และด้วงคีมหรือด้วงเขี้ยวกาง (วงศ์ย่อย Lucanidae) ซึ่งต่างประเทศทำกันนานแล้ว แต่ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มตื่นตัวเพราะเป็นสัตว์ที่เพาะเลี้ยงง่าย และไม่ต้องกลัวว่าจะกลายเป็นศัตรูพืช เพราะว่าหนอนกินไม้ผุที่ตายแล้วและมีเห็ดราขึ้นเป็นอาหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87