แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ใน Phylum Arthropoda จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง
มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัว
มีการหายใจแบบใช้ท่ออากาศ ซึ่งจะติดต่อผ่านเข้าออกข้างลำตัวทางรูหายใจ มีอก 2 คู่ มีท้อง 8 คู่ โดยมีปล้องละ 1 คู่ ขับถ่ายของเสียจากร่างกายทางท่อขับถ่าย มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะและรูปร่างเพื่อการเจริญเติบโตจากตัวอ่อนที่ฟักจากไข่จนกลายเป็นตัวโตเต็มวัย
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของแมลงคือมีลำตัวยาวหรือค่อนข้างยาว ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีลักษณะเหมือนกันและเท่ากัน ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายใหญ่หรือเล็กกว่า แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
ส่วนหัว (head) , ส่วนอก (thorax) และส่วนท้อง (abdomen) โดยลักษณะของอวัยวะส่วนหัวประกอบไปด้วยตา หนวดและปาก กะโหลกศีรษะมีรอยต่อหรือเส้น ใช้สำหรับแบ่งเป็นพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่
หัว ประกอบไปด้วนส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- ส่วนหัว ประกอบไปด้วยสันกะโหลก (Vertex) คือบริเวณพื้นที่ตั้งแต่ส่วนหัวของแมลง นับตั้งแต่พื้นที่ส่วนที่อยู่ระหว่างตาทั้งสองข้างไปจนถึงด้านหลังของตา
- ส่วนหน้า (Frons) คือบริเวณพื้นที่ที่อยู่ทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของแมลง อยู่ระหว่างเส้นรูปตัว Y ที่มีลักษณะเป็นตัว Y กลับหัว ในบริเวณพื้นที่ส่วนนี้เรียกว่า "เส้นทับกะโหลกศีรษะ"
- ส่วนริมฝีปากบน (Clypeus) คือบริเวณพื้นที่ระหว่างส่วนหน้ากับริมฝีปากส่วนบน ในส่วนนี้จะมีเส้น frontoclypeal suture เป็นตัวแบ่งออกจากส่วนหน้า
- ส่วนแก้ม (Gena) คือพื้นที่ทางด้านข้างของกะโหลกใต้ตารวม
- ส่วนฐานกะโหลก (Occiput) คือบริเวณพื้นที่ทางด้านหลังของกะโหลกศีรษะของแมลง ซึ่งพื้นที่ตรงจุดนี้จะแยกออกจากสันกะโหลกและแก้มอย่างชัดเจน ในส่วนนี้จะมีเส้น occipital suture เป็นเส้นแบ่ง
- ส่วนฐานกะโหลกทางส่วนหลัง (Post Occiput) คือบริเวณพื้นที่ส่วนที่เชื่อมติดกับลำคอ และแยกออกมาจากฐานกะโหลก โดยมีเส้น post occipital suture เป็นเส้นแบ่ง
หนวด หนวดของแมลงจะมีอยู่ 2 เส้น ใช้สำหรับสัมผัสและดมกลิ่ม ส่วนมากหนวดของแมลงมักจะอยู่ระหว่างตารวมหรืออยู่ต่ำกว่าตารวมเพียงเล็กน้อย สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างอิสระ เพราะหนวดทั้ง 2 เส้นจะติดอยู่กับศีรษะของแมลงตรงช่องหนวด โดยมีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ เป็นตัวเชื่อมติดกันเอาไว้
ปาก ปากของแมลงมีหลายรูปแบบตามแต่ชนิดของแมลง แต่ปากแบบพื้นฐานคือปากแบบกัดกินเช่น ปากของตั๊กแตน ลักษณะปากแบบกัดกินจะมีริมฝีปากบนปิดส่วนประกอบอื่น ๆ ของปากเอาไว้ มีกรามเป็นอวัยวะที่มีลักษณะแข็งแรงสำหรับบดเคี้ยวอาหาร มีเส้นที่คล้ายกับหนวดยื่นออกมาจากปากข้างละ 2 เส้น คู่แรกคือ maxillary palps ซึ่งจะยึดติดแน่นอยู่กับฟัน และคู่ที่สองคือ labial palps ซึ่งจะยึดติดแน่นอยู่ที่ริมฝีปากล่าง และมีส่วนที่เหนือริมฝีปากบนขึ้นไป ซึ่งจะมีแผ่นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า clypeus สำหรับเป็นฐานยึดติดริมฝีปากส่วนบนเอาไว้
คอ คอของแมลงจะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างหัวกับอก มีลักษณะอ่อนไม่แข็งเหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อแบบบาง ๆ และกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนหัวและส่วนอกของแมลง
อก อกของแมลงจะอยู่ระหว่างส่วนหัวและส่วนท้อง สามารถมองเห็นได้จากขาและปีกของแมลง เนื่องจากอกเป็นตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของขาและปีก ประกอบไปด้วยปล้องจำนวน 3 ปล้องคืออกปล้องแรก, อกปล้องกลางและอกปล้องหลัง โดยปกติแล้วอกของแมลงส่วนใหญ่ในแต่ละปล้องจะมีขา 1 คู่ ตามธรรมชาติแล้วแมลงบางชนิดจะไม่มีขา เพราะขานั้นได้เสื่อมหายไป ตามปกติแล้วขาที่ยึดติดกับอกปล้องแรกคือขาคู่หน้า ส่วนขาที่ติดกับอกปล้องกลางคือขาคู่กลาง และขาที่ติดกับอกปล้องหลังคือขาคู่หลัง ในแมลงที่เจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนใหญ่จะมีปีกติดอยู่ที่บริเวณอกปล้องกลางกับอกปล้องหลังอย่างละคู่ ปีกในส่วนอกปล้องแรกของแมลงทุกชนิดจะเรียกว่าปีกคู่หน้า และเรียกปีกของอกปล้องหลังว่าปีกคู่หลัง
ท้อง ท้องของแมลงตามปกติแล้วจะมีทั้งหมด 11 ปล้อง แต่ปล้องที่ 11 จะมีลักษณะที่เล็กมากจนมองเห็นได้ยากหรือมองแทบไม่เห็น ทำให้มองเห็นท้องของแมลงเพียงแค่ 10 ปล้องหรือไม่เกิน 10 ปล้องเท่านั้น แต่ก็ยังมีแมลงบางชนิดที่มีจำนวนปล้องท้องน้อยกว่านี้ แมลงส่วนใหญ่เมื่อเจริญเติบโตกลายเป็นตัวโตเต็มวัย จะไม่มีส่วนขาที่บริเวณท้อง ยกเว้นแต่ในตัวอ่อนของแมลงบางชนิดเช่น หนอนผีเสื้อขาเทียม ที่มีปล้องท้องลักษณะเป็นปล้องคู่ จำนวนปล้องท้องจะแตกต่างกันออกจากตามแต่ประเภทของตัวหนอน ปลายสุดของหางจะมีแพนหาง 1 คู่ ลักษณะคล้ายด้ายเส้นยาวหรือเป็นแผ่นบาง ๆ ใส ๆ พบได้ในตัวเต็มวัย ในเพศเมียจะมีอวัยวะสำหรับวางไข่ที่บริเวณปลายสุดของท้อง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแท่งยาวปลายแหลม สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน มีรูหายใจอยู่ที่ทางด้านข้างท้องของแมลง
แมลงสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆตามโครงสร้างของร่างกาย ได้เป็น | ![]() |
![]() | 1. ผึ้ง ต่อ แตน มด (Order Hymenoptera) ลักษณะเด่น - เป็นแมลงสังคม - มีปีก 2 คู่ เป็นแผ่น บางใส - มีการเจริญเติบโตโดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis | ||
![]() | 2. ตั๊กแตนหนวดสั้น ตั๊กแตนหนวดยาว จิ้งหรีด (Order Orthoptera) ลักษณะเด่น - มีปีก 2 คู่ คู่หน้าเป็นแผ่นหนัง - ปีกคู่หลังเป็นแผ่นบางใส มีเส้นปีกมากมาย - มีปากแบบกัดกิน (chewing type) - มีการเจริญเติบโตโดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย (gradual metamorphosis) | ![]() |
3. ด้วงปีกแข็ง (beetles) (Order Coleoptera) ลักษณะเด่น - รูปร่าง รูปไข่ ยาว หนา และลำตัวนูน - ขาคู่หน้า เป็นแผ่นบาง ที่ด้านขอบนอกเป็นฟัน - เป็นแมลงกลุ่มหนึ่ง ที่ใช้เป็นดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า ถ้าพบแมลงในกลุ่มนี้มากแสดง ให้เห็นว่าป่าไม้และสัตว์ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ - เป็นกลุ่มแมลงที่มีมากที่สุดในโลกประมาณ 40% ของแมลงทั้งหมด - มีปีก 2 คู่ ปีกคู่หน้าเป็นแผ่นแข็ง - มีการเจริญเติบโตโดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) - มีปากแบบกัดกิน (chewing type) | ![]() ![]() ![]() |
![]() | ![]() | ด้วงในภาพนี้ก็เป็นด้วงปีกแข็งกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในครอบครัว ด้วงหนวดยาว (Family Cerambycidae) ซึ่งมี ลักษณะเด่นคือ “ หนวดยาวกว่าลำตัว ” |
![]() | ![]() | 4. แมลงวัน ยุง เหลือบ (Order Diptera) ลักษณะเด่น - มีปีก 2 คู่ คู่หน้าเป็นปีกบางใส ปีกคู่หลังลดรูป จึงมองคล้ายมีปีกคู่เดียว - มีปากหลายรูปแบบ เช่น ดูดกิน ดูดเลีย กัดดูด - เป็นแมลงขนาดเล็ก มีความหลายหลายมาก - มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และทางเศรษฐกิจ - มีการเจริญเติบโตโดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) |
5. แมลงปอ และแมลงปอเข็ม (Order Odonata) ลักษณะเด่น - รูปร่างเรียวยาว มีตาโตเต็มหัว หนวดสั้น - มีปีก 2 คู่ เป็นแผ่นบางใส มีเส้นปีกมากมาย - มีปากแบบกัดกิน (chewing type) - มีการเจริญเติบโตโดเปลี่ยน แปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) | ![]() |
![]() | 6. จักจั่น เพลี้ย (Order Homoptera) ลักษณะเด่น - มีปีก 2 คู่ เป็นแผ่นบาง หุบพับคล้ายหลังคา - มีปากแบบเจาะดูด (piercing-sucking type) - ปากโผล่มาทางด้านท้ายของหัว (posterior) - มีการเจริญเติบโตโดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย (gradual metamorphosis) | ![]() |
![]() | 7. มวนต่างๆ เช่น มวนจิ้งโจ้น้ำ มวนเพชฌฆาต มวนแดง (Order Hemiptera) ลักษณะเด่น - มีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกเป็นแบบกึ่งแข็ง กึ่งบางใส คู่หลังเป็นแบบบางใส - มีปากแบบเจาะดูด (piercing-sucking type) - ปากโผล่มาทางด้านหน้าของหัว (anterior) - มีการเจริญเติบโตโดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย (gradual metamorphosis) |
![]() | 8. ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน และผีเสื้อบินเร็ว (Order Lepidoptera) ลักษณะเด่น - มีปีก 2 คู่ เป็นแผ่นบางใส แต่ปกคลุมด้วยเกล็ดเล็กๆ หลากสี - มีการเจริญเติบโตโดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) - มีปากแบบดูดกิน (sucking type) | ![]() |
ผีเสื้อกลางคืน (moth) - มีหนวดหลายแบบ - แต่ถ้าเป็นหนวดแบบเรียวยาว จะไม่มีติ่งที่ส่วนปลาย | ![]() |
ผีเสื้อกลางวัน (butterflies) - หนวดเรียวยาว - มีติ่งที่ส่วนปลาย | ![]() |
ที่มา http://www.sc.psu.ac.th/units/museum/knowledge2/knowledge2.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87
http://en.wikipedia.org/wiki/Insect
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น