วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

2April:ของเก่าของใหม่


คุณเคยรู้สึกเห่อของใหม่ที่คุณเพิ่งได้มาบ้างหรือเปล่า
            ช่วงนี้ผมได้หนังสือใหม่มาหลายเล่มครับ หลังจากไปเดินช้อปปิ้งที่งานสัปดาห์หนังสือ ณ ศูนย์สิริกิติ์  แต่หนังสือใหม่ที่ภูมิใจจะนำเสนอที่สุดคือ  พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน เพราะเป็นหนังสือฟรี (นิสัยคนไทยครับต้องชอบของฟรีเป็นธรรมดา555+) ที่ได้มาในงานเปิดตัวพระคัมภีร์ฉบับแปลใหม่เล่มนี้เมื่อเช้า หลังจากผ่านการแปล และแก้สำนวนอะไรต่างๆมากว่า 14 ปี คือจริงๆแล้วพระคัมภีร์ (Bible) นี่เราก็มีมานานแล้วละ เล่มที่มีอยู่ก็มีมาหลายปีแล้ว เพียงแต่ 14 ปีที่ผ่านมานี้เค้าก็เริ่มการแก้ไขจุดผิดพลาดและแก้สำนวนให้ทันสมัยขึ้น จนได้มาเป็นเล่มที่เห็นในรูปนี่ละครับ
                ความคิดหนึ่งที่ปิ๊งขึ้นมาได้ในวันนี้ คือ ได้พระคัมภีร์ใหม่มาและ หนังสือใหม่ๆก็มาอีกเพียบ แต่ชั้นหนังสือที่บ้านก็ยังมีอีกหลายเล่มยังไม่ได้อ่านเลย - - พระคัมภีร์เล่มเก่าก็ยังอ่านไม่จบ --// หลายครั้งเรามักจะชื่นชม ดีใจ ลัลล้า เมื่อได้ของใหม่ๆเรียกง่ายๆ~ เห่อ (จริงๆคำนี้เป็นคำที่ใช้เรียกอาการแพ้อะไรบางอย่างบนร่างกาย) แกะพลาสติก แต่พอหยิบจับผ่านไปเดือนสองเดือนก็ขึ้นหิ้งให้ดูมีสีสันประดับบ้าน และก็ลืม พอมีงานหรือ event ใหม่ๆเราก็เอาของใหม่มาเพิ่มแล้วก็อ่านๆพลิกๆเดือนสองเดือนขึ้นหิ้งสร้างสีสันให้บ้านเพิ่มอีก จากเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ทำให้เตือนสติตัวเองได้สั้นๆว่า
อย่าทำให้ของใหม่เป็นของเก่าทั้งๆที่ยังใหม่อยู่

พวกเจ้าจะได้รับประทานของที่สะสมไว้นาน และจะต้องเอาของเก่าออกไปเพื่อจะมีที่สำหรับเก็บของใหม่
เลวีนิติ 26:10

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มด Ant


มด เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้

วรรณะมด

  • มดราชินี (queen) เป็นมดเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะเป็นมดราชินี จะเป็นมดเพศเมีย (female) ธรรมดาก่อน เป็นมดมีปีก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกทิ้งไป แล้วเริ่มสร้างรังวางไข่ มดราชินีจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมดทั้งรัง ตั้งแต่กำหนดเพศ จำนวนประชากร และพฤติกรรมต่างๆ เปรียบเหมือนเป็นศูนย์รวมของมดทุกชีวิตเลยก็ว่าได้ หากมดราชินีถูกฆ่าตาย มดตัวอื่นๆ จะขาดที่พึ่งและแตกกระจายกันไปไม่มีจุดหมาย อยู่เพื่อรอวันตายซึ่งอาจจะตายเองหรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร โดยทั่วไปมดรังหนึ่งจะมีมดราชินีเพียงตัวเดียวเท่านั้น
  • มดเพศผู้ (male) เป็นมดตัวผู้ มีปีกมีขนาดใกล้เคียงกับมดงาน มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์อย่างเดียว ในรังหนึ่งมีมดเพศผู้อยู่ไม่มาก และจะเกิดเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นในรอบปี
  • มดงาน(worker) เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก มีหน้าที่คอยหาอาหารป้องกันศัตรู ดูแลรังไข่และตัวอ่อนรวมทั้งมดราชินี มดที่เราเห็นส่วนใหญ่ล้วนเป็นมดงานทั้งสิ้น มดรังหนึ่งจะมีมดงานจำนวนมากเพราะเกิดได้หลายรุ่นในรอบปี มดบางชนิดยังอาจแบ่งมดงานเป็น “มดทหาร” ซึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่ (แต่เล็กกว่ามดราชินี) อาจพบได้ภายในรังและบริเวณใกล้รังเพื่อป้องกันศัตรูต่างๆ อีกประเภทหนึ่งคือ “มดกรรมกร” มีขนาดเล็กกว่ามดทหาร พบได้ในบริเวณที่ห่างรังออกไปเนื่องจากต้องไปหาอาหารตามที่ต่างๆ

กายวิภาคของมด

โครงสร้างของมดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้อง

ส่วนหัว

ส่วนหัวของมด มีหลายรูปร่าง เช่น รูปร่างห้าเหลี่ยม รูปร่างมังกร หรือวงรี ซึ่งมีส่วนที่สำคัญอีกคือ

หนวด

หนวดของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด ซึ่งแบ่งออกดังนี้
  • มดราชินี (Queen Ant) มีหนวดประมาณ 210-254 ปล้อง
  • มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
  • มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
  • มดงาน (Worker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 ปล้อง

ตา

แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ตารวมและ ตาเดี่ยว
  • ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษะอื่นๆด้วย เช่น ตาเป็นมี ตา 2คู่ และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
  • ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ใช่คู่ ส่วนใหญ่ จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด
มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงาน พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น

ปาก

ปากของมดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (Thorix) และปากแบบลักษะดูด (Thorase)
  • ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
  • ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สำหรับ ดูดน้ำหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
  • ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ไม่ใด้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้

ส่วนกลาง

ส่วนกลางเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่มหนามอยู่ด้วย เป็นส่วนที่สองของลำตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่ 3 นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สำหรับราชินีและมดเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2 เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1 มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ

ส่วนท้อง

เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า Wasted twin ซึ่งมดบางชนิดอาจมีเหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี 1ปล้องคือ Petioleเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ Petiole และ Postpetiole เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 Postpetiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole มีหนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลำตัว เรียก gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูปทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กไน บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับบางชนิดไม่มีเหล็กไน ก็จะเปิดเป็นช่อง สำหรับขับสาร

แมลงวัน

แมลงวัน เป็น แมลง ใน อันดับ Diptera (di = สอง, และ ptera = ปีก) มีบน อกปล้องทีสอง และ ตุ่มปีกหนึ่งคู่ ซึ่งลดรูปจากปีกหลัง บนอกปล้องที่สาม แมลงวันบางชนิดไม่มีปีก โดยเฉพาะใน superfamily Hippoboscoidea
อันดับ Diptera เป็นอันดับที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ประมาณ 240,000 ชนิด ของ ยุง, บั่ว, ริ้น และแมลงวันอื่นๆ แต่มีเพียงครึ่ง(ประมาณ 122,000 ชนิด)ที่ได้รับการจำแนกแล้ว [1] เป็นอันดับหลักๆที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและมนุษย์ (ทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ) ยุงในวงศ์ Culicidaeมีความสำคัญมากโดยเป็นพาหะนำโรค มาลาเรีย, ไข้เลือดออก, ไวรัส West Nile, ไข้เหลือง , encephalitis
แมลงวัน เป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนมนุษย์ชนิดหนึ่ง ส่วมมากคนจะรู้จักบางชนิด เช่น แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว มักจะกินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ และชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด รัศมีการหากินอยู่ในวงประมาณ 3 กิโลเมตร

 


Portrait of a housefly (Musca domestica)

An image of a house fly eye surface by using scanning electron microscope at 450× magnification
แมลงวันกินอาหารที่เป็นของเหลวได้เท่านั้น ส่วนปากของแมลงวันมีการเปลี่ยนรูปอย่างหลากหลายตามอาหารของพวกมัน เช่น ปากเจาะดูดของยุง และปากแบบซับดูดของแมลงวันบ้าน

การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต

แมลงวันออกลูกเป็นไข่ และฟักเป็นหนอนแมลงวัน และระยะดักแด้ จนกลายเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของแมลงวันตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัยกินเวลาประมาณ 8-10 วัน [2]
เมื่อแมลงวันผสมพันธุ์กัน ตัวผู้จะเริ่มขึ้นขี่ตัวเมีย หันหน้าไปทางเดียวกัน แต่จะหมุนหันหน้าไปทางตรงกันข้ามในเวลาต่อมา แมลงวันมีความสามารถในการสืบพันธุ์มากกว่าแมลงอื่นๆ และใช้เวลาสั้นกว่าด้วย จึงเป็นสาเหตุให้แมลงวันมีประชากรจำนวนมาก
ตัวเมียจะวางไข่ใกล้ๆแหล่งอาหารเท่าที่เป็นไปได้ การเจริญเติบโตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวหนอนจะกินอาหารมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่เจริญเติบโตไปเป็นตัวเต็มวัย ในบางครั้งไข่จะฟักทันทีหลังจากถูกวางไข่ แมลงวันบางชนิดตัวหนอนฟักภายในตัวแม่ ovoviviparous
ตัวหนอนแมลงวัน หรือเรียกว่า maggot ไม่มีขาจริง ระหว่างอกและท้องมีการแบ่งส่วนพื้นที่เพียงเล็กน้อย หลายชนิดแม้แต่หัวก็ไม่สามารถแบ่งส่วนพื้นที่ได้ชัดจากส่วนอื่น บางชนิดมีขาเทียมเล็กๆที่ปล้องตัว ตาและหนวดลดรูป หรือไม่มี และท้องไม่มีรยางค์ เช่น cerci. ลักษณะดังกล่าวเป็นการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่มีอาหารเป็นจำนวนมาก เช่นในอินทรีย์วัตถุเน่าหรือเป็นปรสิตภายใน
ดักแด้มีหลายรูปแบบ บางครั้งเข้าดักแด้ในปลอกไหม หลักจากออกจากดักแด้ ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2-3 วัน หน้าที่หลักเพื่อสืบพันธุ์และหาแหล่งอาหารใหม่

การจำแนกหมวดหมู่

Fly cleaning.ogv
อับดับย่อย Nematocera มีลำตัวและหนวดยาวมีขน เช่น ยุง แมลงวันแมงมุม อันดับย่อยBrachycera มีลำตัวกลมหนวดสั้น การจำแนกหมวดหมู่ในปัจจุบัน อับดับย่อย Nematocera ถูกแยกออกเป็นสองอับดับย่อย คืออับดับย่อย Archidipteraและ อับดับย่อย Eudiptera แต่ยังไม่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในนักกีฏวิทยาด้านแมลงวัน
  1. อันดับย่อย Nematocera (77 วงศ์, สูญพันธุ์แล้ว 35 วงศ์) – มีหนวดยาว อกปล้องแรก เห็นเด่นชัดแยกจาก อกปล้องที่ 2 ตัวหนอนมีทั้งเห็นหัวได้ชัดและหัวลดรูป มักอาศัยในน้ำ
  2. อับดับย่อย Brachycera (141 วงศ์, สูญพันธุ์แล้ว 8 วงศ์) – มีหนวดสั้น ดักแด้ อยู่ในปลอกดักแด้ซึ่งสร้างจากผิวหนังของตัวหนอนระยะสุดท้าย ตัวเต็มวัยแข็งแรง ตัวหนา ตัวหนอนส่วนปากลดรูป
    1. Infraorders Tabanomorpha and Asilomorpha – หนวดสั้นแต่โครงสร้างต่างจาก Infraorders Muscomorpha
    2. Infraorder Muscomorpha – มีหนวด 3 ปล้อง อริสเตต (มีเส้นขนที่ปล้องที่ 3)หนวด และ ตัวหนอนมี 3 ระยะ หัวลดรูป (maggots)
Infraorder Muscomorpha ถูกแบ่งออกเป็น Acalyptratae และ Calyptratae โดยแบ่งตามการปรากฎของcalypter (ส่วนปีกที่ห้อยออกมาขยายมาจากตุ่มปีก)

โทษ

แมลงวันจัดเป็นสัตว์พาหะนำโรค เนื่องจากการ ตอมตามสิ่งสกปรกทำให้มีเชื้อโรคติดตามขาและมาติดต่อสู่มนุษย์

ประโยชน์

แมลงวันมีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ในบางท้องที่พบว่าแมลงวันสามารถช่วยผสมเกสรดอกไม้ แพทย์บางแห่งใช้หนอนแมลงวันช่วยในการรักษาแผลเน่าเปื่อยในคน โดยให้หนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ทำให้แผลหายเร็วขึ้น การพบตัวอ่อนของแมลงวันในศพสามารถช่วยในการชันสูตรศพ ซึ่งช่วยประมาณระยะเวลาตาย หรือการหาสาเหตุของการตายในบางกรณีได้

Dragonfly แมลงปอ

แมลงปอ (อังกฤษ: Dragonfly) เป็นแมลงมีปีก 4 ปีก กินแมลงเป็นอาหาร บางคนเรียกว่า นักล่าแห่งเวหา เพราะมีความสามารถในการบินสูงมาก แมลงปอสามารถบินได้ไกลถึง 100 ก.ม. การขยับปีกขึ้น-ลง จะใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 500 ครั้งต่อวินาที

ประเภทและชนิด

แมลงปอในโลกนี้มีอยู่มากกว่า 5,000 ชนิด(species) จัดอยู่ประมาณ 500 สกุล ซึ่งศาสตราจารย์ G.H.Carpenter ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แบ่งแมลงปอออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ โดยดูจากลักษณะของเส้นปีก รูปร่างปีก และลักษณะการวางปีกขณะเกาะอยู่ แบ่งเป็น
  1. กลุ่มแมลงปอบ้าน มีลักษณะตัวใหญ่ สีเข้ม หัวโต ตากว้างแต่ไม่โปน ปีกคู่หลังใหญ่กว่าปีกคู่หน้า เวลาเกาะจะกางปีกในแนวราบ
  2. กลุ่มแมลงปอเข็ม มีตัวเล็ก ตาโปน ปีกคู่หลังมีขนาดเท่ากับปีกคู่หน้า เวลาเกาะจะหุบปีก
ในประเทศไทยมีการค้นพบแมลงปอมากกว่า 295 ชนิด
แมลงปอขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจัดอยู่ในกลุ่มแมลงปอบ้าน แต่มีปีกคู่หลังเท่ากับปีกคู่หน้าและมีหนวด-ภาพนี้เป็นแมลงช้าง ไม่ใช่แมลงปอ เป็นแมลงคนละ Order กัน
ตัวอ่อนแมลงปอ ( naiad ) อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ลักษณะแตกต่างจาก ตัวพ่อตัวแม่ เพราะตัวแม่วางไข่ในน้ำ หรือตามพืชน้ำ ลอกคราบ ประมาณ 10-15 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย กินลูกน้ำและลูกอ๊อดเป็นอาหาร บางครั้งก็กินพวกเดียวกันเอง ตัวอ่อนแมลงปอหายใจด้วยเหงือกที่อยู่บริเวณหาง ตัวอ่อนแมลงปอเคลือนใหวโดยการใช้ขาพายน้ำและการพ้นน้ำออกจากก้นเหมือนไอพ้นเพื่อให้เองตัวพุ่งไปข้างหน้า ตัวอ่อนแมลงปอใช้ชีวิตนานอยู่ในน้ำนาน1-3ปี จากนั้นจึงขึ้นจากน้ำมาลอกคราบและผึ่งปีกเพื่อจะกลายเป็นตัวเต็มวัย แมลงปอมักผึ่งปีกในเวลากลางคืน รุ่งขึ้นเมื่อปีกแห้งก็สามารถบินได้

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

Butterfly



ผีเสื้อ เป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก[1]
ต้นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
วิวัฒนาการของผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าผีเสื้ออาจมีต้นกำเนิดแต่ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ซึ่งยุติเมื่อกว่าหกสิบห้าล้านปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในตระกูลผีเสื้อมีน้อยมาก จึงทำให้การคะเนเกี่ยวกับต้นกำเนิดผีเสื้อเป็นไปได้ไม่สะดวกนัก โดยซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ดังกล่าวที่มีอายุมากที่สุดคือซากนิรนามของสัตว์สคิปเพอร์ (Skipper, Thymelicus lineola) อายุราวสมัยพาเลโอซีน (Paleocence Epoch, ประมาณห้าสิบเจ็ดล้านปีก่อน) พบที่เมืองเฟอร์ (Fur) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และซากดึกดำบรรพ์ประเภทอำพันแห่งโดมินิกัน (Dominican amber) ของผีเสื้อเมทัลมาร์ก (Metalmark, Voltinia dramba) อายุยี่สิบห้าล้านปี
ปัจจุบันโดยปรกติวิสัยผีเสื้อกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิประเทศหนาวเย็นและแห้งแล้ง มีการประมาณว่าขณะนี้มีผีเสื้อในมหาวงศ์ (Superfamily) พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) กว่าหนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยชนิด (species) และมหาวงศ์เลพิดอปเทรา (Lepidoptera) กว่าหนึ่งแสนแปดหมื่นชนิด

การจำแนก
ปัจจุบันมีการจำแนกผีเสื้อออกเป็นสามมหาวงศ์ (Superfamily) คือ 1. เฮดิโลอิเดีย (Hedyloidea) 2. เฮสเพอริโออิเดีย (Hesperioidea) และ 3. พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) และนอกจากนี้ยังมีการจำแนกซึ่งเป็นที่นิยมอยู่อีกสองแบบ ดังต่อไปนี้การจำแนกแบบอนุกรมวิธานพืช
การศึกษาว่าด้วยโครงสร้างและโมเลกุลทางพฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ตามอนุกรมวิธาน (Taxonomic) ได้มีกำหนดมหาวงศ์เพิ่มเติมนอกจากข้างต้น เช่น ดาเนเด (Danaidae) เฮลิโคนีเด (Heliconiidae) ลิบีเทเด (Libytheidae) และ แซไทริเด (Satyridae) เป็นต้น

การจำแนกกลุ่มผีเสื้อกลางวันและกลุ่มผีเสื้อกลางคืน

การจำแนกผีเสื้อแบบแยกสองแฉก (dichotomous classification) เป็นกลุ่มผีเสื้อกลางวัน (buttefly) และกลุ่มผีเสื้อกลางคืน (moth) เป็นอีกวิธีในการจำแนกผีเสื้อที่นิยมมากนอกเหนือจากแบบอนุกรมวิธานพืช การจำแนกประเภทเป็นกลุ่มทั้งสองดังกล่าวนั้นกระทำได้โดยการสังเกตลักษณ์จำเพาะของผีเสื้อ

วงชีวิต
การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุวัฏจักร ดังนี้ คือ
  1. ระยะไข่ (Egg Stage)
  2. ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
  3. ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
  4. ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)
อนึ่ง มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าผีเสื้อมีวงจรชีวิตสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผีเสื้อบางพันธุ์อาจมีอายุเพียงหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่บางพันธุ์มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานในระยะบุ้ง ในขณะที่แมลงชนิดอื่นอาจหยุดการเจริญเติบโตได้ในระยะไข่หรือระยะดักแด้แล้วจึงดำเนินชีวิตต่อไปในฤดูหนาว

ระยะไข่

ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาไข่ของผีเสื้อ เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า ไมโครพายล์ (micropyle) เป็นรูที่ทำให้น้ำเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียได้

ระยะหนอน

ระยะที่คนเราเรียกว่า หนอน มีหลากหลายสี หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่แล้ว ตัวหนอนมีลักษณะที่แตกต่างกัน อาหารอย่างแรกที่ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้นตัวหนอนจึงเริ่มกินใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อนก่อน ซึ่งลักษณะการกินของตัวหนอนจะเริ่มจากขอบใบเข้าหากลางใบ และจะมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว บางชนิดสีสันและรูปร่างก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น หนอนผีเสื้อหางติ่ง หนอนมะนาว ในระยะแรกๆ สีสันก็เหมือนมูลนก แต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้นสีสันจะเปลี่ยนไป เป็นสีเขียวมีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอกด้วย เป็นต้น แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สามารถจำแนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก และขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอนทั่วไปมักหากินเดี่ยวๆ แต่ก็มีบางชนิดทีระยะแรกๆ หากินกันเป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน แมลงที่ลงทำลายพืชผลทางการเกษตรก็จะเป็นวัยนี้เกือบทั้งสิ้น

ระยะดักแด้

เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ภายในเปลือกดักแด้ การพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดบรรดาตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนของผีเสื้อแต่ละชนิดจะเลือกที่เข้าดักแด้ต่างกันไป ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน

ระยะเจริญวัย

ระยะเจริญวัยคือผีเสื้อที่มีสีสันสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งแต่ออกจากดักแด้ โดยผีเสื้อใช่ขาดันเปลือกดักแด้ให้ปริแตกออก และผีเสื้อที่มีปีกยับยู่ยี่จะออกมา ในลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสียที่เป็นสีชมพูออกมา ในระยะแรกปีกของผีเสื้อยังไม่สามารถแผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของเหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำให้ปีกแข็งพอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับชนิดและแต่ละช่วงอายุขัย

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เต่าทอง Coccinellidae



เต่าทอง





เต่าทอง
แมลงที่น่าสนใจชนิดหนึ่ง ซึ่งชื่อของมันฟังดูแล้วอาจจะไม่ทราบเลยว่าเป็นแมลง แมลงที่ว่านี้ก็คือเต่าทอง เป็นแมลงปีกแข็งที่มีขนาดเล็ก ในเมืองหนาวแมลงเล็ก ๆ เหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม กล่าวกันว่า เต่าทองจำศีล ในบ้านเรา มักไม่เห็นการรวมกลุ่มกันมากเช่นนี้
เมื่อเต่าทองตัวเมียวางไข่ ไข่มันจะมีรูปร่างรี ๆ สีเหลือง และจะเรียงกันคล้ายบันได เมื่อตัวอ่อนฟักออกจากไข่มันจะเริ่มล่าเพลี้ยเป็นอาหาร และเมื่ออาหารมากมันจะเริ่มเปลี่ยนเป็นดักแด จากนั้นก็จะโตเต็มวัย เต่าทองที่โตเต็มวัยแล้วก็จะล่าเพลี้ยชนิดต่างๆ เป็นอาหารต่อไป
ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องทีน่าสนใจสำหรับเกษตรในการกำจัดเพลี้ยโดยอาศัยเต่าทองแทนการใช้สารเคมี ซึ่งจะช่วยลดมลพิษในอากาศ ดิน และน้ำลงได้บ้าง
ส่วนประกอบต่างๆของเต่าทอง


แมงมุม

แมงมุม
แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาข้อ เช่นเดียวกับแมลง กิ้งกือ ปู เป็นต้น แมงมุมมีอาหารเป็นพวก เพลี้ยอ่อน ตัวหนอน ผีเสื้อ แมลงวัน เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป แมงมุมบางชนิดมีการชักใยเป็นข่ายดักจับสัตว์ที่เป็นเหยื่อ แมงมุมจะมีช่วงลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้า ที่ประกอบไปด้วยส่วนหัวและอกที่เชื่อมติดกัน และส่วนหลัง คือ ส่วนผลึก และแมงมุมมีปีก
                        แมงมุมจัดอยู่ใน Class Arachnida, Order Araneae หรือ Araneida ลักษณะที่สำคัญคือ มีลำตัวเป็นปล้อง ๆ(ซึ่งสัตว์ในกลุ่มนี้ ก็มักจะมีลำตัวเป็นปล้อง) ส่วนหัวและอกรวมกัน ส่วนท้องซึ่งเป็นถุงแยกออกจากส่วน หัวและอกมี pedicel คั่นอยู่ แมงมุมมีขา 4 คู่ ปากมีเขี้ยวพิษที่เรียกว่า chelecerae ซึ่งมีท่อต่อถึงส่วนที่เป็นส่วนหัวและอกซึ่งเป็นที่อยู่ของต่อมพิษ  ซึ่งพิษเหล่านี้ แมงมุมไม่ได้มีไว้เพื่อล้มสัตว์ใหญ่  แต่แค่เอาไว้ทำให้เหยื่อของมันเกิดอาการชา ขยับตัวไม่ได้   ซึ่งแน่นอนว่าเหยื่อของแมงมุมก็มักเป็นพวกแมลงเล็กๆ   หนอนอะไรพวกนี้แค่นั้น  แมงมุมใช้พิษเพื่อการสยบเหยื่อ   แม้ว่าแมงมุมหลายพันธุ์จะมีพิษ แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่มีพิษร้ายแรงจนล้มสัตว์ใหญ่ๆ อย่างคนได้นั้นมีน้อยมาก แต่ ชนิดที่เรียกว่า Latrodectus mactan หรือ แมงมุมแม่ม่ายดำ (Black widow spider) หรือชนิดที่มีพิษรุนแรง (Severe human poisoning) ได้แก่ Latrodectus, Loxosceles, Phonentria และ Atrax พันธุ์ที่มีพิษมากที่สุดพบในสหรัฐอเมริกา น้ำพิษของแมงมุมชนิดนี้มีพิษร้ายแรงทำให้คนเสียชีวิตได้  แมงมุมพิษกลุ่มนี้มี ขนาดของตัวเมียโตประมาณ 13 มิลลิเมตร ลำตัว ท้อง และขามีสีน้ำตาลดำ หน้าท้องจะมีรูปลักษณะคล้ายนาฬิกาทรายสีส้มแดง เห็นได้ชัด มักอาศัยอยู่ในที่มืด ในกองไม้ ตอไม้ รอยแตกของพื้น

ในบ้านเราเคยมีรายงานว่ามีผู้ป่วยถูกแมงมุมชนิดนี้กัดที่จังหวัดขอนแก่น เป็นหญิงอายุ 20ปี หลังจากถูกกัดมีอาการเจ็บบริเวณที่ถูกกัด เหงื่อออกมาก ปวดท้อง หายใจและพูดลำบาก อาการเป็นชั่วคราวแล้วก็หายเป็นปรกติในหนึ่งวัน แมงมุมมีสีน้ำตาลอยู่บนพื้นดินและวินิจฉัยว่าเป็น พันธุ์ Lactrodectus sp. แมงมุมที่พบในบ้านเราโดยทั่วไปชอบอาศัยอยู่ตามเพดานห้อง มุมห้อง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือตามผนังที่มีรอยแตก บางชนิดชักใย เพื่อดักแมลงตัวเล็ก ๆ เพื่อกินเหยื่อ   ดังนั้นจะเห็นว่าจากแมงมุมทั้งหมดทั่วโลกที่มีอยู่กว่า ๓๐,๐๐๐ ชนิด  แม้ทุกชนิดจะมีพิษเพื่อจับเหยื่อ แต่ก็มีไม่กี่ชนิดที่น่ากลัวสำหรับคน     ถ้ามองในแง่ดี แมงมุมเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์ที่ช่วยควบคุมแมลง รวมทั้งหนอนที่กัดกินต้นไม้ต่างๆด้วยซ้ำไป      

ชม flash จำลองการเดินของแมงมุมที่ http://www.onemotion.com/flash/spider/