วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มด Ant


มด เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้

วรรณะมด

  • มดราชินี (queen) เป็นมดเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะเป็นมดราชินี จะเป็นมดเพศเมีย (female) ธรรมดาก่อน เป็นมดมีปีก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกทิ้งไป แล้วเริ่มสร้างรังวางไข่ มดราชินีจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมดทั้งรัง ตั้งแต่กำหนดเพศ จำนวนประชากร และพฤติกรรมต่างๆ เปรียบเหมือนเป็นศูนย์รวมของมดทุกชีวิตเลยก็ว่าได้ หากมดราชินีถูกฆ่าตาย มดตัวอื่นๆ จะขาดที่พึ่งและแตกกระจายกันไปไม่มีจุดหมาย อยู่เพื่อรอวันตายซึ่งอาจจะตายเองหรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร โดยทั่วไปมดรังหนึ่งจะมีมดราชินีเพียงตัวเดียวเท่านั้น
  • มดเพศผู้ (male) เป็นมดตัวผู้ มีปีกมีขนาดใกล้เคียงกับมดงาน มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์อย่างเดียว ในรังหนึ่งมีมดเพศผู้อยู่ไม่มาก และจะเกิดเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นในรอบปี
  • มดงาน(worker) เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก มีหน้าที่คอยหาอาหารป้องกันศัตรู ดูแลรังไข่และตัวอ่อนรวมทั้งมดราชินี มดที่เราเห็นส่วนใหญ่ล้วนเป็นมดงานทั้งสิ้น มดรังหนึ่งจะมีมดงานจำนวนมากเพราะเกิดได้หลายรุ่นในรอบปี มดบางชนิดยังอาจแบ่งมดงานเป็น “มดทหาร” ซึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่ (แต่เล็กกว่ามดราชินี) อาจพบได้ภายในรังและบริเวณใกล้รังเพื่อป้องกันศัตรูต่างๆ อีกประเภทหนึ่งคือ “มดกรรมกร” มีขนาดเล็กกว่ามดทหาร พบได้ในบริเวณที่ห่างรังออกไปเนื่องจากต้องไปหาอาหารตามที่ต่างๆ

กายวิภาคของมด

โครงสร้างของมดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้อง

ส่วนหัว

ส่วนหัวของมด มีหลายรูปร่าง เช่น รูปร่างห้าเหลี่ยม รูปร่างมังกร หรือวงรี ซึ่งมีส่วนที่สำคัญอีกคือ

หนวด

หนวดของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด ซึ่งแบ่งออกดังนี้
  • มดราชินี (Queen Ant) มีหนวดประมาณ 210-254 ปล้อง
  • มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
  • มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
  • มดงาน (Worker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 ปล้อง

ตา

แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ตารวมและ ตาเดี่ยว
  • ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษะอื่นๆด้วย เช่น ตาเป็นมี ตา 2คู่ และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
  • ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ใช่คู่ ส่วนใหญ่ จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด
มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงาน พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น

ปาก

ปากของมดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (Thorix) และปากแบบลักษะดูด (Thorase)
  • ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
  • ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สำหรับ ดูดน้ำหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
  • ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ไม่ใด้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพักหนวดนี้

ส่วนกลาง

ส่วนกลางเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่มหนามอยู่ด้วย เป็นส่วนที่สองของลำตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่ 3 นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สำหรับราชินีและมดเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2 เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1 มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ

ส่วนท้อง

เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า Wasted twin ซึ่งมดบางชนิดอาจมีเหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี 1ปล้องคือ Petioleเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ Petiole และ Postpetiole เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 Postpetiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole มีหนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลำตัว เรียก gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูปทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กไน บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับบางชนิดไม่มีเหล็กไน ก็จะเปิดเป็นช่อง สำหรับขับสาร

แมลงวัน

แมลงวัน เป็น แมลง ใน อันดับ Diptera (di = สอง, และ ptera = ปีก) มีบน อกปล้องทีสอง และ ตุ่มปีกหนึ่งคู่ ซึ่งลดรูปจากปีกหลัง บนอกปล้องที่สาม แมลงวันบางชนิดไม่มีปีก โดยเฉพาะใน superfamily Hippoboscoidea
อันดับ Diptera เป็นอันดับที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ประมาณ 240,000 ชนิด ของ ยุง, บั่ว, ริ้น และแมลงวันอื่นๆ แต่มีเพียงครึ่ง(ประมาณ 122,000 ชนิด)ที่ได้รับการจำแนกแล้ว [1] เป็นอันดับหลักๆที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและมนุษย์ (ทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ) ยุงในวงศ์ Culicidaeมีความสำคัญมากโดยเป็นพาหะนำโรค มาลาเรีย, ไข้เลือดออก, ไวรัส West Nile, ไข้เหลือง , encephalitis
แมลงวัน เป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนมนุษย์ชนิดหนึ่ง ส่วมมากคนจะรู้จักบางชนิด เช่น แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว มักจะกินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ และชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด รัศมีการหากินอยู่ในวงประมาณ 3 กิโลเมตร

 


Portrait of a housefly (Musca domestica)

An image of a house fly eye surface by using scanning electron microscope at 450× magnification
แมลงวันกินอาหารที่เป็นของเหลวได้เท่านั้น ส่วนปากของแมลงวันมีการเปลี่ยนรูปอย่างหลากหลายตามอาหารของพวกมัน เช่น ปากเจาะดูดของยุง และปากแบบซับดูดของแมลงวันบ้าน

การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต

แมลงวันออกลูกเป็นไข่ และฟักเป็นหนอนแมลงวัน และระยะดักแด้ จนกลายเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของแมลงวันตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัยกินเวลาประมาณ 8-10 วัน [2]
เมื่อแมลงวันผสมพันธุ์กัน ตัวผู้จะเริ่มขึ้นขี่ตัวเมีย หันหน้าไปทางเดียวกัน แต่จะหมุนหันหน้าไปทางตรงกันข้ามในเวลาต่อมา แมลงวันมีความสามารถในการสืบพันธุ์มากกว่าแมลงอื่นๆ และใช้เวลาสั้นกว่าด้วย จึงเป็นสาเหตุให้แมลงวันมีประชากรจำนวนมาก
ตัวเมียจะวางไข่ใกล้ๆแหล่งอาหารเท่าที่เป็นไปได้ การเจริญเติบโตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวหนอนจะกินอาหารมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่เจริญเติบโตไปเป็นตัวเต็มวัย ในบางครั้งไข่จะฟักทันทีหลังจากถูกวางไข่ แมลงวันบางชนิดตัวหนอนฟักภายในตัวแม่ ovoviviparous
ตัวหนอนแมลงวัน หรือเรียกว่า maggot ไม่มีขาจริง ระหว่างอกและท้องมีการแบ่งส่วนพื้นที่เพียงเล็กน้อย หลายชนิดแม้แต่หัวก็ไม่สามารถแบ่งส่วนพื้นที่ได้ชัดจากส่วนอื่น บางชนิดมีขาเทียมเล็กๆที่ปล้องตัว ตาและหนวดลดรูป หรือไม่มี และท้องไม่มีรยางค์ เช่น cerci. ลักษณะดังกล่าวเป็นการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่มีอาหารเป็นจำนวนมาก เช่นในอินทรีย์วัตถุเน่าหรือเป็นปรสิตภายใน
ดักแด้มีหลายรูปแบบ บางครั้งเข้าดักแด้ในปลอกไหม หลักจากออกจากดักแด้ ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2-3 วัน หน้าที่หลักเพื่อสืบพันธุ์และหาแหล่งอาหารใหม่

การจำแนกหมวดหมู่

Fly cleaning.ogv
อับดับย่อย Nematocera มีลำตัวและหนวดยาวมีขน เช่น ยุง แมลงวันแมงมุม อันดับย่อยBrachycera มีลำตัวกลมหนวดสั้น การจำแนกหมวดหมู่ในปัจจุบัน อับดับย่อย Nematocera ถูกแยกออกเป็นสองอับดับย่อย คืออับดับย่อย Archidipteraและ อับดับย่อย Eudiptera แต่ยังไม่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในนักกีฏวิทยาด้านแมลงวัน
  1. อันดับย่อย Nematocera (77 วงศ์, สูญพันธุ์แล้ว 35 วงศ์) – มีหนวดยาว อกปล้องแรก เห็นเด่นชัดแยกจาก อกปล้องที่ 2 ตัวหนอนมีทั้งเห็นหัวได้ชัดและหัวลดรูป มักอาศัยในน้ำ
  2. อับดับย่อย Brachycera (141 วงศ์, สูญพันธุ์แล้ว 8 วงศ์) – มีหนวดสั้น ดักแด้ อยู่ในปลอกดักแด้ซึ่งสร้างจากผิวหนังของตัวหนอนระยะสุดท้าย ตัวเต็มวัยแข็งแรง ตัวหนา ตัวหนอนส่วนปากลดรูป
    1. Infraorders Tabanomorpha and Asilomorpha – หนวดสั้นแต่โครงสร้างต่างจาก Infraorders Muscomorpha
    2. Infraorder Muscomorpha – มีหนวด 3 ปล้อง อริสเตต (มีเส้นขนที่ปล้องที่ 3)หนวด และ ตัวหนอนมี 3 ระยะ หัวลดรูป (maggots)
Infraorder Muscomorpha ถูกแบ่งออกเป็น Acalyptratae และ Calyptratae โดยแบ่งตามการปรากฎของcalypter (ส่วนปีกที่ห้อยออกมาขยายมาจากตุ่มปีก)

โทษ

แมลงวันจัดเป็นสัตว์พาหะนำโรค เนื่องจากการ ตอมตามสิ่งสกปรกทำให้มีเชื้อโรคติดตามขาและมาติดต่อสู่มนุษย์

ประโยชน์

แมลงวันมีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ในบางท้องที่พบว่าแมลงวันสามารถช่วยผสมเกสรดอกไม้ แพทย์บางแห่งใช้หนอนแมลงวันช่วยในการรักษาแผลเน่าเปื่อยในคน โดยให้หนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ทำให้แผลหายเร็วขึ้น การพบตัวอ่อนของแมลงวันในศพสามารถช่วยในการชันสูตรศพ ซึ่งช่วยประมาณระยะเวลาตาย หรือการหาสาเหตุของการตายในบางกรณีได้

Dragonfly แมลงปอ

แมลงปอ (อังกฤษ: Dragonfly) เป็นแมลงมีปีก 4 ปีก กินแมลงเป็นอาหาร บางคนเรียกว่า นักล่าแห่งเวหา เพราะมีความสามารถในการบินสูงมาก แมลงปอสามารถบินได้ไกลถึง 100 ก.ม. การขยับปีกขึ้น-ลง จะใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 500 ครั้งต่อวินาที

ประเภทและชนิด

แมลงปอในโลกนี้มีอยู่มากกว่า 5,000 ชนิด(species) จัดอยู่ประมาณ 500 สกุล ซึ่งศาสตราจารย์ G.H.Carpenter ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แบ่งแมลงปอออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ โดยดูจากลักษณะของเส้นปีก รูปร่างปีก และลักษณะการวางปีกขณะเกาะอยู่ แบ่งเป็น
  1. กลุ่มแมลงปอบ้าน มีลักษณะตัวใหญ่ สีเข้ม หัวโต ตากว้างแต่ไม่โปน ปีกคู่หลังใหญ่กว่าปีกคู่หน้า เวลาเกาะจะกางปีกในแนวราบ
  2. กลุ่มแมลงปอเข็ม มีตัวเล็ก ตาโปน ปีกคู่หลังมีขนาดเท่ากับปีกคู่หน้า เวลาเกาะจะหุบปีก
ในประเทศไทยมีการค้นพบแมลงปอมากกว่า 295 ชนิด
แมลงปอขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจัดอยู่ในกลุ่มแมลงปอบ้าน แต่มีปีกคู่หลังเท่ากับปีกคู่หน้าและมีหนวด-ภาพนี้เป็นแมลงช้าง ไม่ใช่แมลงปอ เป็นแมลงคนละ Order กัน
ตัวอ่อนแมลงปอ ( naiad ) อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ลักษณะแตกต่างจาก ตัวพ่อตัวแม่ เพราะตัวแม่วางไข่ในน้ำ หรือตามพืชน้ำ ลอกคราบ ประมาณ 10-15 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย กินลูกน้ำและลูกอ๊อดเป็นอาหาร บางครั้งก็กินพวกเดียวกันเอง ตัวอ่อนแมลงปอหายใจด้วยเหงือกที่อยู่บริเวณหาง ตัวอ่อนแมลงปอเคลือนใหวโดยการใช้ขาพายน้ำและการพ้นน้ำออกจากก้นเหมือนไอพ้นเพื่อให้เองตัวพุ่งไปข้างหน้า ตัวอ่อนแมลงปอใช้ชีวิตนานอยู่ในน้ำนาน1-3ปี จากนั้นจึงขึ้นจากน้ำมาลอกคราบและผึ่งปีกเพื่อจะกลายเป็นตัวเต็มวัย แมลงปอมักผึ่งปีกในเวลากลางคืน รุ่งขึ้นเมื่อปีกแห้งก็สามารถบินได้